วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นิสิตเขียนตอบตามเงื่อนไขของโจทย์ต่อไปนี้ ลงใน Ms.Word พร้อมแนบไฟล์ส่งโดยกำหนดชื่อไฟล์เป็นชื่อ ICT และตามด้วยรหัสนิสิต เช่น ICT 540030012


1. การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีการเปลี่ยนไปอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมา ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล กล่าวคือ สมัยแรกที่กิจการไปรษณีย์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง การสอนทางไกลก็จะไปเกี่ยวกับการบริการทางไปรษณีย์คือการเอาสิ่งพิมพ์ในรูปของตำราส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนที่บ้าน ต่อมาเมื่อวิทยุเข้ามามีบทบาทในการสื่อสาร มหาวิทยาลัยทางวิทยุก็เกิดขึ้น และใช้สื่อวิทยุซึ่งเป็นสื่อเสียงในการสอน และก็อาจมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย และเมื่อโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมวลชน ก็เกิดมีมหาวิทยาลัยที่สอนโดยใช้โทรทัศน์ร่วมกับเอกสาร อย่างเช่นรายการโทรทัศน์ครู


2. รูปแบบการศึกษาที่พึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งที่มีบุคคลหนึ่งได้กล่าวอย่างสนุกว่า "มีครูอยู่ 3 คน" ครูนั้นได้แก่ใครบ้าง และมีชื่อว่าอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ครูทั้ง 3 คน ได้แก่ อากู๋ น้องวิกี้ และอีตูป
1. อากู๋ คือ Google มีประโยชน์ ดังนี้
- สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบ
เอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง
- ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
- ใช้ Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือ
ภาษาอังกฤษ 
2. น้องวิกี้ คือ Wikipedia มีประโยชน์ ดังนี้
- เนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ เปิดเสรีที่ให้ทุกคนเขียน แก้ไขข้อมูล
โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน เผยแพร่สืบต่อกันได้อย่างเสรี
3. อีตูป คือ Youtube มีประโยชน์ ดังนี้
- เป็นแหล่งรวมความบันเทิง เช่น เพลง มิวสิควิดีโอ เป็นต้น
- สามารถทำให้เราติดตามดูละคร หรือรายการทีวีย้อนหลังได้
- เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ข้อมูลต่างๆซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เช่น บทเรียน
สื่อการสอน เป็นต้น
- สามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสารใหม่ๆหรือการโหลดภาพ คลิปวีดีโอและรู้ทัน
เหตุการณ์ที่ทันสมัยและสะดวกสบาย
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในลักษณะ e-Learning แบบ Real-Time แตกต่างจาก Non Real-Time อย่างไร
ตอบ Real-time จะสามารถสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room ได้ทันทีจะทำให้สามารถโต้ตอบกันได้เร็ว ส่วนแบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ E-mail  WeBBoard  News-group เป็นต้น ซึ่งจะไม่สามารถโต้ตอบได้ทันที 


4. Virtual Classroom คืออะไร
ตอบ Virtual Classroom หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน
5. Asychonous Learning คือรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะใด
ตอบAsynchronous Learning คือรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction) แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อ สาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา
6. Hypermedia คือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาอะไร และนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ตอบ Hypermedia หรือ สื่อหลายมิติ คือ การใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่าง ๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)








7. ให้นิสิตเขียนตารางเปรียบเทียบแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาใน 3 ยุค
ตอบ 



8. ให้นิสิตสรุปประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามา 5 ข้อ
ตอบ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
3. ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
4. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย และ มีเวลาในการเตรียมการสอนได้มากขึ้น
5. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ และ ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น

9. Tablet PC คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษา และตามนโยบายของรัฐบาลได้ระบุว่าจะแจกให้กับนักเรียนนั้นนิสิตคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน มีประโยชน์กับการศึกษาคือ ลดรายจ่ายระยะยาวในเรื่องค่าหนังสือ และ สามารถเป็นช่องทางที่ให้ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนการบ้าน และเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิตอลได้ อีกทั้ง ยังเป็นสื่อมัลติมีเดียที่สร้างความสนุกสนานไปกับบทเรียนในรูปแบบเกมส์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย แต่ในความคิดของผมไม่เห็นด้วยที่แจกให้แก่เด็ก ป.1 เพราะว่าเด็กยังได้ไม่เต็มประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรตามมา เช่น การขโมย  การขู่กรรโชก  และถึงแม้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่าหนังสือลง แต่ว่าก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และค่าไฟแทน

10. ให้เขียนความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Tablet PC , IPAD และ Notebook 
ตอบ อุปกรณ์ทั้งสามชนิดมีความเหมือนกันคือ สามารถใช้งานได้แบบคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมที่มีลักษณะแบบคอมพิวเตอร์ได้ ความแตกต่างคือ Tablet PC จะมีขนาดเล็กกว่า Notebook มีหน้าจอระบบสัมผัส แต่ iPad นั้นมีความแตกต่างจาก Tablet PC ทั่วไปที่เรารู้จักกัน เนื่องจากระบบปฏิบัติการของมันนั่นเอง ระบบปฏิบัติการของ iPad เรา เรียกกันว่า iPhone OS โดยมีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อใช้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่าง iPad เพราะฉะนั้น จุดเด่นที่เคยมีอยู่ใน iPhone ก็จะมีอยู่ใน iPad เกือบครบ

11. เครือข่ายสังคมออนไลน์คืออะไร นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ สังคมออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทาความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่ 
สนใจ และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่า “บริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)”
สังคมออนไลน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้ โดยใช้ในการแผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และผลงานต่างๆ รวมทั้นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันผ่านสังคมออนไลน์ 

12. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ตัวตนคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
ตอบ เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ตัวตนคือ เว็บไซต์ที่ ใช้สาหรับนาเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้คือ hi5.com และ facebook.com เป็นต้น

13. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ผลงานคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
ตอบ เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ผลงาน คือ เว็บไซต์ในการนำเสนอผลงานของตัวเอง ผลงานของกลุ่ม ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียนเป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น YouTube.com Multiply.com เป็นต้น

14. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะกลุ่มที่มีความสนใจตรงกันคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
ตอบ เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะกลุ่มที่มีความสนใจตรงกันคือ คือเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่เราจะทำ Bookmark (เหมือนกับเราคั่นหนังสือ) เว็บที่เราชอบ หรือบทความรายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเราคนเดียว สู้เรา Bookmark เก็บไว้บนเว็บจะดีกว่า เพื่อจะได้แบ่งให้เพื่อน ๆ คนอื่นดูได้ด้วย และเราก็จะได้รู้ด้วยว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นที่น่าสนใจ โดยดูได้จากจานวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ ได้แก่ Digg, Zickr, duocore.tv เป็นต้น

15. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะทำงานร่วมกันคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
ตอบ .เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะทำงานร่วมกันคือ กลุ่ม SNS ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานาเสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้แก่ wikipedia.org ,http://maps.google.co.th/ เป็นต้น

16. Tablet มีประโยชน์อย่างไรในวงการศึกษา
ตอบ ลดรายจ่ายระยะยาว และ สามารถเป็นช่องทางที่ให้ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนการบ้าน และเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิตอลได้ อีกทั้ง ยังเป็นสื่อมัลติมีเดียที่สร้างความสนุกสนานไปกับบทเรียนในรูปแบบเกมส์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย สามารถใช้แอพลิเคชันต่างๆมาใช้ในการเรียนและใช้แทนหนังสือ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ความประทับใจการจากไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรม

   
            จากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ผมรู้สึกดีใจมาก เพราะเป็นการได้มาเยี่มชมครั้งแรก ซึ่งนิทรรศการและสิ่งของต่างๆที่จัดแสดง ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจและมีคุณค่าทั้งนั้น รูปแบบการจัดนิทรรศการก็สวยงาม  สามารถจำลองบรรยากาศมาไว้ได้อย่างสมจริงได้อย่างสมจริง ทำให้ได้รู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ เช่น  บริเวณที่จำลองวาดจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์ ทำให้รู้สึกได้้หมือนเข้าไปอยู่ในโบสถ์จริงๆ 
            การได้มาทัศนศึกษาที่นี่ทำให้ได้ความรู้หลายแย่าง เช่น การเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ภาคตะวันออก และเมืองโบราณต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ที่นี่ก็ได้มีการนำผังเมือง รวมถึงโบราณวัตถุต่างๆมาจัดแสดงให้ได้ชม ซึ่งผมประทับใจมาก




มายเมเนเจอร์



วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้


Input             ผู้เรียนได้แก่นักเรียนโรงเรียน สฤษดิเดช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                      กลุ่มมาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่4 ประวัติศาสตร์

Process         1.วางแผนการผลิต
                         ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้และหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลาง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
                         สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่4 ประวัติศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                      2.การถ่ายทำ
                         รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง 24 มิ.ย. 2475 หาเพลงประกอบในการผลิต                วีดีทัศน์

                      3.ขั้นหลังการถ่ายทำ
                          ลำดับภาพและเรื่องราว และลองนำเสนอผ่าน Blog เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ตรววจ 
                          สอบ

Output          บทเรียนวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้น
                      เรื่อง "ปฎิวัติการปกครอง 24 มิ.ย.2475"

Feedback      ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน เพราะเป็นเนื้อหาที่แปลกใหม่และน่าติดตาม 


วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ประวัติความเป็นมา
          สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2512 โดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เดิม) และนิสิตอีกจำนวนหนึ่งโดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูและอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว
         พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2513 และในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
          พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากตัวอาคารมีขนาดจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิมทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชง และคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีมอบให้แก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ให้องค์ความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดแสดง
ส่วนการจัดแสดงถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ใหญ่ ๆ โดยบริเวณภายนอกสถาบัน จะมีการแสดงโครงกระดูกวาฬแกลบ ( Balaenoptera edeni) ที่ตายในเขตน่านน้ำไทย ชั้นแรก มีการแสดงสัตว์อาศัยบริเวณชายฝั่งที่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง เช่น แมงดาทะเล, ปลิงทะเล, หอยเม่น, ดาวทะเล, ปูเสฉวน, ดอกไม้ทะเล เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของปลาในแนวปะการังซึ่งอาศัยอยู่อย่างเกื้อกูลกัน เช่น ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่มีพิษ และปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและบ่อฉลาม โดยเฉพาะในส่วนของปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสนใจของสถาบันแห่งนี้มาตลอด เพราะมีการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีความจุน้ำถึง 200 ตัน ที่ใช้ความหนาของกระจกถึงหนึ่งคืบ เช่น ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus), ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมซึ่งสามารถจุน้ำได้ถึง 1,000 ตัน แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่ 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ชั้นบน จะเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ช่วงแรกเป็นการแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง ต่อมาเป็นการแสดงถึงเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น แพลงก์ตอน, ฟองน้ำ,หมึก เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของนิเวศวิทยาทางทะเลและสัตว์ทะเลที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย มีการจัดแสดงเครื่องมือที่ใช้ใมนการประมงและเรือประมง เป็นต้น และพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย
ภาพการจัดแสดงชั้น 1




          ภาพการจัดแสดงชั้น 2




          สาระที่ได้
          สถาบันวิทยาสตร์ทางทะเลมีการนำหลักการและทฤษฎีการการเรียนรู้ของ เอการ์ เดล ที่จัดรูปแบบของสื่อตามลักษณะการเรียนรู้จากนามธรรมไปสู้รูปธรรม โดยเน้นการเรียนรู้จากจากประสบการณ์จริง ให้ผู้ที่ศึกษาได้เห็นและสัมผัสจากของจริง อันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความสัมฤทธิ์สูง เพราะผู้เรียนจะสามารถจดจำรูปร่างและลักษณะของสัตว์ที่ศึกษาชนิดต่างๆได้ดีกว่าการฟังจากคำบอกเล่าของครู
อาจารย์
          มีการนำวัสดุกราฟิกมาเป็นสื่อเพื่อแสดงความหมายหรือข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจที่อาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ และแผนภาพ อย่างอย่างลงตัว อาทิเช่น การใช้ภาพเพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่รวมกัน โดยภาพที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ 2ลักษณะ คือ ภาพเสมือนจริง จะเป็นการถ่ายภาพจากสิ่งมีชีวิตจริงมาประกอบการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนนั้นเห็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลักษณะที่สอง เป็นลักษณะของภาพการ์ตูน ที่วาดขึ้นหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยทำ เป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจที่จะเข้ามาศึกษาอีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความเข้าใจให้ผู้ที่ศึกษาอีกด้วย











วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554



            หลายคนอาจจะสงสัยว่า  8  กรกฎ คืออะไร  แต่สำหรับนิสิต  ม.บูรพา  แล้ว ต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่า  วันที่  8  กรกฎ  นี้เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะเป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย  และในวันนี้ก็จะมีประเพณีที่ถือปฎิบัติกันเป็นประจำทุกปีนั่นก็คือ  ประเพณี  "วิ่งเขาสามมุข"  ซึ่งมีความเชื่อที่บอกต่อ ๆ  หากปี 1 คนไหนไม่ได้ไปวิ่งเขาสามมุขก็จะเรียนไม่จบ 

          โดยเส้นทางในการวิ่งจะวิ่งจากเขาสามมุขผ่านแหลมแท่น สู่ถนนเรียบชายหาดบางแสน ผ่านวงเวียนบางแสนเข้าสู่ถนนหน้ามหาวิทยาลัย จุดเส้นชัยจะอยู่ที่บริเวณสวนสวนเทา – ทอง 50 ปี จุดนี้เองเป็นจุดสำคัญสำหรับนิสิตอย่างเราๆ เพราะบริเวณเส้นชัยนี่เองที่มีความเชื่อมาหลายต่อหลายรุ่นแล้วว่าถ้าได้เหยียบตัว ตรงคำว่า GOAL ผลการเรียนของเราก็จะได้ ด้วย ถึงจะเป็นเรื่องของความเชื่อ แต่ทุกปีที่วิ่งประเพณีตัวก็จะถูกเหยียบจนสีจางไปเลยทีเดียว

          ความรู้สึกหลังจากที่ได้ร่วมวิ่งประเพณีนี้ของผมก็ คือ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาอย่างเต็มตัว และรู้สึกว่าคงได้เกรด A หลายตัว เพราะเหยียบ A ไปหลายทีเหมือนกัน^^


เพลง "แปดกรกฏ"
เนื้อร้อง ม.ล.ปิ่น มาลากุล 
ทำนอง อ.หิรัญ บรรจงปรุ - อ.วีรพล บุญพิทักษ์
จังหวะ March Tempo
ขับร้องทำนองใหม่ นันทิภา รัตนเพียรชัย
ทำนองใหม่ นพดล สิทธิชัย จังหวะ โบเลโร่
" วันที่แปดกรกฏกำหนดไว้  เป็นวันวิทยาลัยการศึกษา
ขยายออกท้องถิ่นจินตนา  ให้อุดมศึกษาแก่ชาวไทย
เลือกจำเพาะเหมาะดีที่บางแสน  ต้องวางแผนกะการเป็นงานใหญ่
วางศิลาฤกษ์ลงตรงชายไพร  เพื่อจะได้ตึกงามอร่ามตา
ตัดมะพร้าว แผ้วถาง สร้างถนน  แต่ละต้น เสียดายเป็นหนักหนา
เพราะน้ำหอมระรื่นชื่นอุรา   แต่เพื่อการศึกษาก็จำใจ
ท่านผู้ใดจะใช้ถนนนี้  ทุกทิวาน่าที่จะครวญใคร่
ว่าตนช่วยสร้างวิทยาลัย  ให้ชื่อหอมแทนได้หรือไม่เอย "

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

                "การแบ่งประเภทสื่อการสอน"
         
         สื่อการสอน Instructional  Media
ความหมาย
หมายถึงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน
       
        ประเภทของสื่อการสอน 
>แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
>แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
>แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม  (Edgar  Dale)



-Percival  and  Ellington(1984) และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการ
สอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท

1.สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
2.สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
3.สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
-แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่นหุ่นจำลองและสื่อ
ที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์ 

3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน  

-แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
ของEdgar Dale

  

1.ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย

 (Direct or Purposeful  Experiences)

เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้  เรียนรู้ด้วยตนเอง  ลงมือปฏิบัติ  เข้าไป
อยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  เช่น  การฝึกทำอาหาร 
การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์



2.ประสบการณ์จำลอง  (Contrived  experience)

เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็น
จริง อาจเป็นสิ่งของหรือสถานการณ์จำลอง



3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง 
 (Dramatized  Experience)
เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์  ในการแสดงบทบาทสมมุติ  หรือการแสดง
ละคร  


4.การสาธิต(Demonstration)
เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย  เพื่อ
ให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ  เช่นการสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด



5.การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip)
เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว
หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ  ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์
บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม




6.นิทรรศการ  (Exhibits)
 เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่าง  ๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะ
ของนิทรรศการ  หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่
แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้านนิเทศ



7.โทรทัศน์  (Television)
 เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ  เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและ
โทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้
ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน  ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด  ซึ่งการสอน
อาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์  หรือเป็นรายการสดก็ได้  การใช้สื่อการสอนใน
กรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์



8.ภาพยนตร์  (Motion  Picture)
 เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว  มีเสียงประกอบ  และได้
บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม  มาเป็นสื่อในการสอน  ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้
ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง  หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ





         9.ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง 
(Recording, Radio, and  Still  Picture)


 เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้
ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้าน
เดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือ
ภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จาก
การฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้
ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจ
เนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟัง
หรือดูภาพ

10.ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols)
 วัสดุกราฟิกทุกประเภท  เช่น  แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  แผนภาพ  การ์ตูนเรื่อง  
หรือสัญญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย  การใช้สื่อ
ประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำ
มาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่าง
ดี  เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญญลักษณ์  หรืองานกราฟิก  ผู้เรียนจะ
เกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย




11.วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol)
  เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด  คำบรรยาย  ตัวหนังสือ ตัวเลข  หรือ
สัญญลักษณ์พิเศษต่าง  ๆที่ใช้ในภาษาการเขียน  ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้
เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้  จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมาก
ที่สุด


-----------------------------------------------------------------------------------------
>มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่า
เป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

                  ตามความเห็นของข้าพเจ้า ไม่คิดว่าสื่อการสอน ประเภทวัสดุเป็นสิ่งที่สิ้นเปลือง เพราะการที่เราได้นำสื่อการสอนนั้นไปสอนเด็กทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ก็จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มึคุณภาพ สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาช่วยในการพัฒนาประเทศได้
"การศึกษาต้องมีการลงทุนบ้าง แต่ว่าผลกำไรที่ได้รับตอบแทนมานั้นมหาศาล"

>กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร 
สรุปสาระสำคัญ



                                กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale

แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลัก

                  1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด

                      -------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างสื่อการสอน